|
|
ความเป็นมา
ชาวเล อาศัยอยู่ทางฝั่งทะเลอันดามัน ทางตอนใต้ของประเทศไทย แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มวัฒนธรรม คือ กลุ่มดูรักลาโว้ย และ กลุ่มมอเก็น ชาวเล ที่อาศัยอยู่ในจังหวัดกระบี่ส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มอูรักลาโว้ย ตั้งถิ่นฐานบริเวณ เกาะพีพี เกาะจำ เกาะปู เกาะไหง และเกาะลันตา นอกจากนั้นยังมีกลุ่มชาวเล ที่เป็นเคลือญาติในสายตระกูลเดียว กันอาศัยกระจัดกระจายบริเวณจังหวัดใกล้เคียง ได้แก่ บริเวณเกาะลิเหร่ หาดราไวย์ แหลมพลา บ้าน เหนือ และบ้านสะป้าจังหวัดภูเก็ต ตลอดไปจนถึง เกาะหลีเป๊ะ และเกาะสาวีจังหวัดสตูล
ตามตำนานบ่งชี้ว่าชาวเล กลุ่มอูรักลาโว้ยเคยมีบรรพบุรุษเชื่อมโยงกับชาวเล กลุ่มมอเก็น และเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่เดินทางอพยพเร่ร่อนทางทะเลมายาวนานในประวัติศาสตร์
ในอดีตชาวเล กลุ่มอูรักลาโว้ยเคยอาศัยบริเวณเทือกเขา "ฆูนุงฌึไร" ชายฝั่งทะเลในรัฐไทรบุรี หรือเคดาห์เขตประเทศสหพันธ์รัฐมาเลเซียก่อนอพยพเข้าสู่น่านน้ำไทย และเมื่อเข้ามาอาศัยแถบหมู่ เกาะชายฝั่งทะเลอันดามันเขตประเทศไทยแล้ว ระยะแรกก็ยังคงมีวิถีชีวิตแบบเร่ร่อนโดยอาศัยเรือที่ทำ จากไม้ระกำเป็นที่อยู่ ทั้งเป็นยานพาหนะในการเดินทางเพื่อเก็บหาของป่าและล่าสัตว์ทะเลเป็นอาหาร พวกเขาใช้ "กายัก" (แฝกสำหรับมุงหลังคาเรือ เก็บพับได้ มุงเป็นเพิงได้) หรือสร้างเพิงพักชั่วคราว เหนือริมหาดชายฝั่งทะเลในบางฤดูกาล
มีหลักฐานทางวัตถุและคำบอกเล่าสืบต่อกันมาเชื่อกันว่า เกาะลันตาเป็นดินแดนแห่งแรกที่ ชาวเล อูรักลาโว้ยเริ่มเปลี่ยนวิถีชีวิตขึ้นตั้งถิ่นฐานในประเทศไทย แต่ยังคงสืบทอดนิสัยอพยพเร่ร่อน อยู่อีกช่วงเวลาหนึ่ง มีเหตุการณ์ที่พวกเขาอพยพย้ายถิ่นอยู่ในบริเวณน่านน้ำชายฝั่งทะเลอันดามันอีก หลายครั้ง โดยแยกย้ายกันไปหาอยู่หากินตามหมู่เกาะต่าง ๆ แล้วตั้งถิ่นฐานบริเวณหมู่เกาะเหล่านั้น บ้าง กลับมาที่เดิมบ้าง จนในที่สุดต่างก็กระจัดกระจายกันตั้งถิ่นฐานในกลุ่มครอบครัวและเครือญาติ ใกล้ชิดของตน แต่ทุกกลุ่มก็ยังติดต่อสัมพันธ์ไปมาหาสู่กัน นับเป็นสังคมเครือญาติใหญ่และถือเป็น พวกเดียวกันทั้งหมด
|
วิถีชีวิต
อูรักลาโว้ยยังชีพกับทะเลตลอดมาในยุคดั้งเดิมพวกเขานำเรือท่องไปตามหมู่เกาะกลุ่มละสี่ ห้าลำ บางครั้งจะขึ้นเกาะเพื่อเก็บของป่า เช่น มะพร้าว เผือก มัน หรือเก็บหอยช่วงน้ำลง แต่ส่วนใหญ่ แล้วจะมุ่งล่าสัตว์ทะเลเป็นอาหาร โดยใช้เครื่องมือง่าย ๆ เช่น ฉมวก สามง่าม เบ็ด และวัสดุที่หาได้ใน ท้องถิ่น
อูรักลาโว้ยได้ชื่อว่าเป็นพวกที่มีความสามารถในการดำน้ำแทงปลาจับกุ้งมังกรด้วยมือเปล่า และดำเก็บหอยชนิดต่าง ๆ ขึ้นมาจากกันทะเลพวกเขายังล่าเต่ากระ และพยูนเป็นอาหาร
เมื่อมีกลุ่มชนอื่นเข้ามาอาศัยตั้งถิ่นฐานแถบหมู่เกาะกันมาขึ้น พวกอูรักลาโว้ยก็เคลื่อนย้าย ชุมชนไปอยู่ตามหัวเกาะ สุดปลายแหลม ซึ่งมักเป็นบริเวณที่คลื่นลมแรง เพื่อหนีการรบกวนจากกลุ่ม ชนอื่น เพราะพวกเขารักสงบและมักจะหวาดกลัวคนแปลกหน้า แต่เมื่อผู้คนมากขึ้น อูรักลาโว้ยก็จำ เป็นที่จะต้องติดต่อกับชุมชนภายนอก มีการนำส่วนเกินที่หาได้จากทะเลไปแลกเปลี่ยนสิ่งของเครื่อง ใช้ที่ขาดแคลน ดังเช่นอูรักลาโว้ยจะนำเครื่องราวและสิ่งประดับพวกเกร็ดกระเบนท้องน้ำกำไลกระ หอยเบี้ย กัลปังหา และไข่มุก ไปแลกกับเสื้อผ้ามานุ่งห่ม หรือเอาปลาไปแลกข้าวสาร
คราใดที่เกิดภัยพิบัติหรือสมาชิกในกลุ่มเจ็บป่วยล้มตาย นั่นก็หมายถึงการลงโทษที่ได้รับ จากผีบรรพบุรุษ หรือสิ่งเหนือธรรมชาติที่มีอิทธิพลต่อพวกเขา ดังนั้นพิธีกรรมในการติดต่อสื่อสาร ระหว่างสมาชิกในกลุ่มกับสิ่งเหนือธรรมชาติเพื่อขอขมา เพื่อบนบานศาลกล่าว เพื่อการต่อรองหรือเพื่อ เอาอกเอาใจ จึงอุบัติขึ้นในโอกาสต่าง ๆ โดยใช้วิธีการพิเศษซึ่งต้องผ่าน "โต๊ะหมอ" ผู้นำกลุ่มเพียงผู้ เดียวเท่านั้น เช่น การจัดพิธีลอยเรือหรือพิธีแก้บน
ทุกรอบครึ่งปี คือเดือน 6 และเดือน 11 พวกอูรักลาโว้ยที่เป็นสมาชิกชุมชนและญาติพี่น้อง ที่กระจัดกระจายกันไปทำมาหากินในแถบทะเลและหมู่เกาะต่าง ๆ จะพากันเดินทางกลับมายังถิ่นฐาน เดิม เพื่อเข้าร่วมในพิธีลอยเรือหรือ "เปอ ลาจั๊ก" พิธีนี้สืบทอดมาแต่ครั้งบรรพบุรุษอันเกี่ยวเนื่องกับ ตำนาน ความเชื่อ ความเป็นมาและวิถีชีวิตทุกส่วนของอูรักลาโว้ย การจัดพิธีลอยเรือก็เพื่อการสะเดาะ เคราะห์ ส่งวิญญาณกลับสู่ที่มา และการส่งสัตว์ไปไถ่บาป
เรือปลาจั๊กที่ทำขึ้นในพิธีลอยเรือ ทำจากไม้ตีนเป็ดและไม้ระกำ เป็นสัญลักษณ์ของ "ยาน" ที่จะนำวิญญาณของคนและสัตว์ ไปสู่อีกภพหนึ่งมีชิ้นไม้ระกำที่สลักเสลาอย่างสวยงามเป็นรูปลักษณ์ ต่าง ๆ ประดับประดาอยู่ในเรือ รูปนกเกาะหัวเรือหมายถึง "โต๊ะบุหรง" บรรพบุรุษผู้ซึ่งสามารถห้าม ลมห้ามฝน ลายฟันปลาหมายถึง "โต๊ะบิกง" บรรพบุรุษที่เป็นฉลาม ลายงูหมายถึง "โต๊ะอาโฆะเบอราไตย" บรรพบุรุษที่เป็นงู ฯลฯ ในเรือยังมีรูปฝาก เครื่องเซ่นต่าง ๆ ที่จะนำไปสู่ถิ่นบรรพบุรุษที่ "ฆูนุงฌึไร"
การร่ายรำแบบดั้งเดิมผสมผสานกับบทเพลงเก่าแก่และดนตรีรำมะนาเป็นส่วนประกอบที่เร้าใจ ในพิธีลอยเรือ โต๊ะหมอจะเป็นหัวหน้าในงานพิธีกรรมทุกขั้นตอน มีการร้องรำรอบเรือปลาจั๊กร้องรำรอบ ไม้กันผี ร้องรำขณะเล่นสาดน้ำริมหาด "เลฮฺบาเลฮฺ" พวกอูรักลาโว้ยทั้งหมดที่มาชุมนุมกัน จะผลัดกัน ทำงาน ร้องรำ และดื่มกินกันอย่างเมามายตลอดช่วงเวลาสามวันสามคืน จนกว่าพิธีจะเสร็จสิ้นจึงแยก ย้ายกันไป
|
การปรับปรุงในสังคมปัจจุบัน
การแลกเปลี่ยนเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้อูรักลาโว้ยรับวัฒนธรรมจากสังคมภายนอกมาผสมผสานกับ วัฒนธรรมดั้งเดิม จนเกินการสืบเนื่องและเปลี่ยนแปลงหลายด้าน ที่ชัดเจนคือการรู้จักใช้ระบบเงินตราแทน การแลกเปลี่ยนสิ่งของและเปลี่ยน จากการล่าสัตว์ทะเลเพื่อยังชีพเป็นการล่าเพื่อขาย พวกเขาจึงหันมาใช้เรือ หางยาวแทนเรือพายเล็ก ๆ
ปัจจุบันอูรักลาโว้ยตกอยู่ภายใต้ระบบเศรษฐกิจแบบพึ่งพาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ของทะเลที่หา มาได้จะถูกนำไปขายให้กับนายทุน เพื่อหักหนี้สินที่ค้างชำระค่าอวน ค่าเรือ และเครื่องเรือหางยาว ค่า ข้าวสาร และค่าอื่น ๆ อีกมากมายอย่างไม่มีวันหมดสิ้น
เพลงลูกทุ่งไทย หมอลำ และดนตรีสมัยใหม่แทรกเข้ามามีบทบาทในพิธีลายเรือสลับกับดนตรี รำมะนาแบบเก่าแก่ที่ยังคงอยู่ พร้อมกับการเข้ามาของโทรทัศน์ซึ่งเป็นสื่อที่ทรงอิทธิพลของวัฒนธรรมไทย ที่เข้ามาทำลายวัฒนธรรมเก่าของชาวเล ให้หมดไปวันแล้ววันเล่า
หญิงอูรักลาโว้ยที่เคยนุ่งผ้าถุงกระโจมอกเปลี่ยนมาใช้เสื้อผ้าหลายรูปแบบที่ได้รับแจกและบางครั้งจะสวมชุดนอนยาวมาเดิน ในตลอดหมู่บ้านผู้ขายส่วนใหญ่ยังสมถะกับการนุ่งกางเกงจีน แต่วัยรุ่นก็เริ่มสวมกางเกงยีนและชอบตู้เพลง
เด็กหนุ่มอูรักลาโว้ยจำนวนไม่น้อย เล็กวาง อวน ตกปลา วางไซ แต่มาอยู่ตามชายหาดที่เป็นแหล่งท่องเที่ยว พาเรือหางยาว รับนักท่องเที่ยวออกไปเที่ยวทะเล
หมู่บ้านอูรักลาโว้ยบางแห่งถึงกับแตกสลายเมื่อที่ดินถูกซื้อหรือถูกยึดครองไปโดยนายทุนชาวเมือง ชาวเล ก็จะอพยพไปอยู่กับเครือญาติในชุมชนชาวเล แห่งอื่นที่ยังเหลืออยู่ ซึ่งนับวันจะเบียดเสียดยิ่งขึ้น
อย่างไรก็ตาม ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงที่รับมาจากสังคมภายนอก อูรักลาโว้ยก็ยังคงดำรง เอกภาพภายในสังคมของตนเอง ไว้ได้อย่างเหนียวแน่น พวกเขาตั้งถิ่นฐานเกาะกลุ่มอยู่ด้วยกัน ไม่ยอม ปะปนกับคนภายนอกยังพูดภาษาอูรักลาโว้ยในหมู่พวกกันเอง ยังสืบทอดตำนาน ความเชื่อ และพิธี กรรมต่าง ๆ เกี่ยวกับบรรพบุรุษและดำรงรูปแบบทางสังคมและวัฒนธรรมของตนเองภายในชุมชนเล็ก ๆ ของพวกเขา
ชีวิตครอบครัวแบบผัวเดียวเมียเดียวยังคงถือปฏิบัติกันอยู่ในสังคมอูรักลาโว้ย โดยฝ่ายชาย จะเข้าไปอยู่ในครัวเรือนของฝ่ายหญิงชั่วคราวก่อนจะแยกเป็นครอบครัวเดี่ยวเมื่อถึงวันเวลาอันสมควร ยกเว้นกรณีที่ฝ่ายชายมีความจำเป็นต้องเลี้ยงพ่อแม่หรือฝ่ายหญิงเลือกชายหนุ่มต่างวัฒนธรรม เช่น ชาวจีน ชาวไทยมุสลิม หรือชาวไทยพุทธ ฝ่ายหญิงจะเป็นฝ่ายแยกไปอยู่กับฝ่ายชาย
การร้องรำทำเพลง เป็นชีวิตจิตใจของชาวเล อูรักลาโว้ยเช่นเดียวกับกลุ่มชาติพันธุ์อื่น ๆ ที่ ใช้ชีวิตท่ามกลางธรรมชาติ
ท่ารำ เสียงดนตรี และบทเพลงที่ร้องรำกันทั้งในชีวิตประจำวันและในพิธีกรรมต่าง ๆ จะ สะท้านภาพสังคม - วัฒนธรรมและบ่งบอกถึงความเป็นมาและเป็นไปของกลุ่มชนทั้งในอดีตและ ปัจจุบัน เนื้อเพลงเอ่ยถึงท้องทะเลผู้คน บรรพบุรุษ และการเดินทาง
แม้วิถีชีวิตดั้งเดิมแปรเปลี่ยนไปโดยไม่หยุดยั้ง แต่วันใดก็ตามที่ชีวิตพวกเขาสิ้นสุดลูกหลาน ก็จะนำร่างไร้วิญญาณฝังกลบไว้ใต้ผืนทรายชายทะเล ตามคำบอกเล่าที่สืบต่อกันมาว่า "จะได้นอนฟัง เสียงคลื่นกล่อมเหมือนเมื่อยังมีชีวิตอยู่"
|
|
ที่มาของภาพ และข้อมูล |
กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
คณะอนุกรรมการจัดการความรู้เพื่อผลประโยชน์แห่งชาติทางทะเล (อจชล.)
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
|
|
|
|
Tourist Information,Map and Google Map
Travel and Tourism Guide in Bangkok, Thailand |
|
Transportation
Travel information to Bangkok, Thailand
PASSPORT & VISA , By Air, Book flights to Bangkok, Thailand, Bangkok Transportation, By Train, By Bus, Bus Ticket Booking ..more >> |
|
|
|
|