เกี่ยวกับเรา | บริการ | ลงโฆษณา | พันธมิตรกับเรา | สะสมแต้ม | ออกแบบเว็บไซต์
 
 
 
ปลายทาง  |  รีวิวเที่ยวทะเล  |  รีวิวที่พัก  |  รีวิวร้านอาหาร  |  สัมผัสทะเลไทย
บริการ  :   โปรโมชั่น  |  ตั๋วเครื่องบิน  |  โรงแรม ที่พัก  |  แพคเกจทัวร์ |  ท่าเรือ-เรือเช่า  |  ข้อมูลการเดินทาง
AA
 
:: ปลายทาง
อ่าวไทยตะวันออก
อ่าวไทยตะวันตก
ทะเลใต้ ฝั่งอันดามัน
ทะเลใต้ ฝั่งอ่าวไทย
เตรียมตัวเที่ยวทะเล
 
เกี่ยวกับเรา
สำหรับผู้ประกอบการ
   โฆษณากับเรา
   พันธมิตรกับเรา
   สะสมแต้ม จิกทะเลพลัส

:: เกาะ เมืองชายทะเล > ทะเลใต้ ฝั่งอันดามัน
หมู่เกาะระนอง-แหลมสน-ลำน้ำกระบุรี
หมู่เกาะสุรินทร์-ตาชัย
เขาหลัก-หมู่เกาะสิมิลัน
หาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี

หมู่เกาะลันตา เกาะรอก

ภูเก็ต-เขาสิรินาถ
ทะเลตรัง-หาดเจ้าไหม
ตะรุเตา- อาดัง ราวี หลีเป๊ะ
 
B08,
B09

สารบัญที่พัก บังกาโล รีสอร์ท
รีวิวที่พัก บังกาโล รีสอร์ท
การเดินทาง
โปรโมชั่น
บันทึกความทรงจำ


 
เกาะหลีเป๊ะ, จ.สตูล > กิจกรรมท่องเที่ยว  
ภาพโดย thai.tourismthailand.org, www.facebook.com/Pacharaanong Hirunsalee, www.facebook.com/WhiteCloudTravel
 
 
กิจกรรมท่องเที่ยวใน เกาะหลีเป๊ะ, จ.สตูล
อ่าวและชายหาด ดำน้ำแบบสนอร์เกิล
ดำน้ำแบบสกูบา Water Sports
ปีนเขา ชมวิว เส้นทางศึกษาธรรมชาติ
วิถีชีวิตชาวเล ตกปลา-ตกหมึก
กิจกรรมอื่นๆ  
 
กิจกรรมท่องเที่ยว
อ่าวและชายหาด

อุทยานแห่งชาติตะรุเตา

“ตะรุเตา” เป็นคำที่เพี้ยนมาจากคำว่า “ตะโละเตรา” ในภาษามลายู แปลว่า มีอ่าวมาก ตะรุเตาเป็นอุทยานแห่งชาติที่อยู่ในทะเลอันดามัน บริเวณช่องแคบมะละกา มหาสมุทรอินเดีย ในท้องที่อำเภอเมือง จังหวัดสตูล ด้านใต้ของเขตอุทยานแห่งชาติ ห่างจากชายแดนไทย-มาเลเซีย เพียง 4.8 กิโลเมตร อุทยานแห่งชาติตะรุเตาเป็นสถานที่ท่องเที่ยวในความใฝ่ฝันของนักท่องเที่ยวทั่วไป เนื่องจากเป็นจุดรวมของความงามที่ธรรมชาติสร้างสรรค์ ทั้งบนเกาะ และในน้ำ มีป่าที่อุดมสมบูรณ์เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่านานาชนิด ในน้ำก็งดงามด้วยกลุ่มปะการังหลากสีสวยสด จนเป็นที่กล่าวขวัญกันไปทั่วโลก ซึ่งประกอบด้วยเกาะน้อยใหญ่จำนวน 51 เกาะ

อุทยานแห่งชาติตะรุเตามีเกาะที่มีขนาดใหญ่ 7 เกาะด้วยกัน คือ เกาะตะรุเตา เกาะอาดัง เกาะราวี เกาะหลีเป๊ะ เกาะกลาง เกาะบาตวง และเกาะบิสสี โดยจัดแบ่งออกเป็นหมู่เกาะใหญ่ๆ ได้ 2 หมู่เกาะ คือ หมู่เกาะ ตะรุเตา และหมู่เกาะอาดัง-ราวี

เกาะตะรุเตา เป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุด มีเนื้อที่ 152.01 ตารางกิโลเมตร สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขามีความลาดชันสูง ยอดเขาที่สูงที่สุด สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 708 เมตร ส่วนชายฝั่งทางด้านตะวันออกของเกาะส่วนมากจะเป็นหน้าผาสูงชันสลับกับอ่าวและหาดทรายโคลน ทางด้านตะวันตกจะมีหน้าผาแต่เฉพาะทางด้านเหนือบริเวณแหลมตันหยงมะระ (ด้านหัวเกาะ) มีที่ราบอยู่เป็นหย่อมๆ ทางเทือกเขาหลังอ่าว อ่าวที่สำคัญได้แก่ อ่าวพันเตมะละกา อ่าวสน อ่าวมะขาม อ่าวตะโละอุดัง และอ่าวตะโละวาว เป็นต้น อ่าวต่างๆ เหล่านี้มีคลองและลำธารไหล่ผ่านออกสู่ทะเล มีที่ราบเฉพาะบริเวณเหนือชายหาดต่างๆ เพียงเล็กน้อยเท่านั้น

สภาพอากาศโดยรอบของอุทยานแห่งชาติตะรุเตาฝนจะตกมากที่สุดในเดือนกันยายนโดยอุณหภูมิสูงสุดในเดือนเมษายนและต่ำสุดในเดือนมิถุนายนกำหนดปิด-เปิดฤดูการท่องเที่ยวประจำปี เฉพาะบริเวณหมู่เกาะอาดัง - ราวี ดังนี้ ปิดฤดูการท่องเที่ยว ตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม - 15 พฤศจิกายน ของทุกปี เปิดฤดูการท่องเที่ยว ตั้งแต่วันที่ 16 พฤศจิกายน - 15 พฤษภาคม ของทุกปี

--------------------------------------

เกาะหลีเป๊ะ อยู่ทางตอนใต้ของเกาะอาดังราวีราว 2 กิโลเมตร เกาะหลีเป๊ะ หมายถึง เกาะที่ราบเรียบ คล้าย กระดาษ ซี่งมีที่มาจากภาษาท้องถิ่นชาวน้ำหรือชาวเล (ชนเผ่าอุรักลาโว้ย)บนเกาะซึ่งส่วนใหญ่ทำอาชีพประมง รอบเกาะเต็ม ไปด้วยป่าปะการังอันสมบูรณ มีเวิ้งอ่าวที่สวยงาม หาดทรายขาวละเอียด อ่าวที่สวยงามที่สุด คือ อ่าวพัทยา บน เกาะ มีที่พักเพื่อให้บริการนักท่องเที่นสทั้งด้านหน้าและด้านหลังเกาะในเดือน 6 และเดือน 11 ขึ้น 13-15 ค่ำ ตลอด 3 วัน 3 คืนชาวบ้านที่มีเชื่อสายชาวเล จะมารวมกันที่เกาะแห่งนี้เพื่อจัดงานประเพณีลอยเรือ ตาม ความเชื่อที่ จะขับไล่สิ่งอัปมงคล และเสี่ยงทายอนาคตของการประกอบอาชีพ เกาะหลีเป๊ะและหมู่เกาะใกล้เคียง มีความงดงาม ทางทะเลมาก จนได้รับการขนานนามว่ามัลดีฟส์เมืองไทย

ชายหาดของเกาะหลีเป๊ะแบ่งเป็น 3 หาด คือ โดยแต่ละหาดสามารถเดินทางเชื่อมต่อกันได้โดยใช้เวลาเดินไม่มากนักเพียง 15-20 นาที

1. หาดพัทยา ตั้งอยู่ทิศตะวันตกของเกาะ หรือเป็นหาดที่คึกคักที่สุด เพราะเป็นจูดรับส่งของเรือ โดยสารหาดนี้ได้รับ การขนาน นามว่า "พัทยา 2 เนื่องจากคึกคักเหมือนพัทยา ชายหาดยาวเป็นโค้งเว้า รูปครึ่ง วงกลม หาดขาว สะอาดตลอดแนว ละเอียดเหมือนคอฟฟี่เมตหาดพัทยายังเป็นจุดชมพระอาทิตย์ตกที่ สวยงามที่ สุดของบรรดาเกาะทั้ง หลายใน ทะเลสตูลก็ว่าได้ ถัดจากแนวหาดขึ้นไปเป็นที่ตั้งของรีสอร์ทสไตล์บังกะโล หลาย แห่งให้เลือกใช้บริการ บริเวณ หน้าเกาะเป็นโขดหิน ที่พักที่ปลูกสร้างเป็นเนินจึึงชมทีวทัศน์ได้สวยงาม ชายหาด ด้านนี้เป็นที่นิยม ของ นักท่อง เที่ยว ต่างชาติมาก ในมื้อดินเนอร์จึงมีเสียงเพลงสากลขับกล่อม เพราะผู้คนที่มานั่งดื่ม กินบนโต๊ะริมหาดเป็น ฝรั่ง เสียส่วนใหญ่ นอกจากมีที่พักแล้ว ยังมีร้านขายของชำ ร้านอาหาร ร้านให้เช่าอุปกรณ์ ดำน้ำ และเรือหางยาว ให้เช่าไปเที่ยวเกาะต่าง ๆ

2. หาดชาวเล ตั้งอยู่บริเวณหน้าเกาะหลีเป๊ะ ทางทิศตะวันออกของเกาะ หาดชาวเล เป็นชายหาดทอดยาว หลายร้อยเมตร ร่มรื่นไปด้วยทิวมะพร้าวน้อยใหญ่ที่ขึ้นเรียงรายตลอดแนวหาด สามารถชมพระอาทิตย์ขึ้นได้อย่าง สวยงาม สามารถมองเห็นเกาะอาดังซึ่งอยู่ห่างจากเกาะหลีเป๊ะเพียง 800 เมตรได้อย่างดี มีบ้านเรือนชาวเล อาศัย อยู่กระจัดกระจายไม่หนาแน่น และมีที่พักริมหาดให้เลือกบริการไม่มากหาดชาวเล เป็นจุดชมพระอาทิตย์ขึ้นที่สวย ที่สุดแห่งหนึ่งของอันดามัน ,uหาดทรายละเอียดส่วนตัว ที่สะอาด สงบ บริสุทธิ์และร่มรื่นภายใต้แนวสนใหญ่มาก มายจากหาดชาวเล สามารถเดินเท้าไปยังหลังเกาะด้านทิศตะวันตกเส้นทางจะผ่านชุมชนชาวเล ที่มีการจัดการชุมชน อย่างเป็นระเบียบสะอาดสะอ้าน จากนั้นผ่านสวนมะพร้าวเข้าสู่หลังเกาะอันเป็นที่ตั้งของหาดพัทยา 2 ได้อย่าง สบาย ๆ

3.อ่าวประมงมีที่พักน้อย แต่สงบมาก

4. หาดคาร์มา อยู่ทางตอนเหนือ ซึ่งหันหน้าเข้ากับเกาะอาดัง

กิจกรรมต่างๆบนเกาะหลีเป๊ะ
1. ดำน้ำชมประการังส่วนการเล่นน้ำชมปะการังและฝูงปลาที่เกาะหลีเป๊ะ สามารมารถทำได้ ทั่วทั้งเกาะ เพียงแต่บางพื้นที่ อาจต้อง คอยระวังจุดที่น้ำตื้นมากๆ เข้าไว้ เพราะตัวปะการังเองก็มีความคมอยู่แล้ว ทั้งยังหอยเม่นที่กลายเป็นเหมือนเพื่อน ข้างกายเหล่าปะการังสีสวย ตามหาดต่างๆ
2. เดินชมวิถีชีวิตฃาวเลของชาวเล บนเกาะ

ของชาวเล (ชนเผ่าอุรักลาโว้ย)บนเกาะซึ่งส่วนใหญ่ทำอาชีพประมงรอบเกาะ

การเดินทางไปตามเกาะต่างๆในบริเวณใกล้เคียง

นอกจากเที่ยวชมความงามของน้ำทะเลบนเกาะหลีเป๊ะแล้ว สามารถเช่าเรือนำเที่ยวไปดำน้ำและเที่ยวชมเกาะต่างๆ ในบริเวณใกล้เคียงได้ เช่น ดำน้ำบริเวณร่องน้ำจาบัง การนำชมเกาะต่างๆ ใกล้เคียง เช่น เกาะหินงาม เกาะหินซ้อน รวมถึงการรับประทานอาหารเที่ยงบนชายหาดที่สวยงามบนเกาะลองกอย ในเช้าวันใหม่จึงหาเรือหางยาวเช่าเหมา ตาม ร้านดำน้ำ และรีสอร์ทต่างๆ ซึ่งมักจะมีอุปกรณ์ดำน้ำให้เช่า ซึ่งหากใช้เวลาตลอดวันก็สามารถ เที่ยวได้หมด ทุกเกาะ เพราะแต่ละเกาะอยู่ใกล้ ๆ กัน เช่น เกาะอาดัง เกาะราวี เกาะหินงาม เกาะจาบัง เกาะยาง เกาะผึ้ง เกาะรอกลอย ฯลฯ หรืออาจะแ่บ่งการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นอีก 1 วันก็ยังได้ ตกเย็นก็กลับมานอนที่เกาะหลีเป๊ะ แล้วรอเรือโดยสารกลับในวันถัดไปเช่าเรือไปยังเกาะต่าง ๆ ได้ในราคาลำละ 1,200-1,800 บาท นั่งได้ 8-9 คน โดยติดต่อกับทางรีสอร์ทที่ท่านพักได้เลย

--------------------------------------
หมู่เกาะอาดัง ราวี

มีเนื้อที่เกาะประมาณ 30 ตารางกิโลเมตร เป็นเกาะที่มีหาดทราย ละเอียดสวยงาม และมีแนวปะการังอยู่รอบๆ รอบเกาะมีเกาะเล็กๆ คือ เกาะหลีเป๊ะ เกาะดง เกาะหินงาม และเกาะยาง เป็นเกาะที่เหมาะ สำหรับการดำน้ำตื้น ภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นภูเขาสูง มีป่าปกคลุมแลดูเขียวครึ้ม ทางด้านหลังมีน้ำตกขนาดใหญ่ มีน้ำตลอดปี คำว่า อาดัง มาจากคำเดิมในภาษามลายูว่า อุดัง มีความหมายว่า กุ้ง เพราะบริเวณนี้เคยอุดมสมบูรณ์ไปด้วยกุ้งทะเล มีสถานที่น่าสนใจเป็น จำนวนมาก
เกาะยาง หรือ เกาะกาต๊ะ เป็นเกาะเล็กๆอยู่ไม่ไกลจากเกาะอาดัง น้ำทะเลใสและมีแหล่งปะการังแข็งที่สวยงาม เช่น ปะการังเขากวาง ปะการังผักกาด ปะการังสมอง บนเกาะมีชายหาดที่มีทรายละเอียด
เกาะจาบัง เป็นเกาะขนาดเล็กอยู่ห่างจากเกาะอาดังราว 20 นาที บริเวณก้อนหินใต้น้ำรอบๆ เกาะจาบังเป็นแหล่งปะการังอ่อน ดอกไม้ทะเล และฝูงปลาที่มีสีสันสวยงาม ระดับน้ำลึกราว 15-30 ฟุตของกองหินบริเวณนี้ ทำให้เหมาะแก่การดำน้ำตื้นในลักษณะการดำผิวน้ำ และสามารถดำน้ำลึกได้
หมู่เกาะดง เกาะดงเป็นเกาะที่อยู่นอกสุดของหมู่เกาะอาดัง ราวี ห่างจากเกาะอาดังราว 1 ชั่วโมง มีแหล่งปะการังน้ำตื้น และปะการังน้ำลึก เกาะดงยังมีเกาะบริวารอยู่โดยรอบราว 4-5 เกาะ โดยมีเกาะหินซ้อนที่มีลักษณะโดดเด่นเหมือนก้อนหินที่วางซ้อนกันเป็นชั้นๆ
เกาะหินงาม นอกจากจะได้ชมความงามของก้อนหินกลมมนบนเกาะแล้ว บริเวณด้านหลังเกาะหินงามยังมีแนวปะการัง ดอกไม้ทะเล ปลาการ์ตูน น้ำใสเหมาะแก่การดำน้ำตื้น
เกาะผึ้ง เกาะเล็ก ๆ อยู่ระหว่างเกาะราวีและเกาะดง มีกัลปังหาและปะการังแข็งอยู่บริเวณใกล้ร่องน้ำ เหมาะสำหรับดำน้ำ
เกาะหินขาว เป็นจุดดำน้ำตื้นอีกจุดหนึ่งซึ่งอยู่ใกล้เกาะหลีเป๊ะ มีปะการังอ่อน ปะการังแข็ง และฝูงปลาเป็นจำนวนมาก

การเดินทาง
สำหรับผู้สนใจท่องเที่ยวไปตามเกาะต่างๆในหมู่เกาะอาดังราวีนั้น สามารถเช่าเรือหางยาวได้ที่เกาะหลีเป๊ะ อัตราค่าเช่าวันละ 1,000-1,200 บาทต่อวัน (8-12 คน)
ชมรมเรือหางยาวนำเที่ยวเกาะหลีเป๊ะ โทร. 081 959 6542
ติดต่อ โทร. 074 728 028,074 712 409โดยเรือ

สำหรับผู้สนใจท่องเที่ยวไปตามเกาะต่างๆในหมู่เกาะอาดังราวีนั้น สามารถเช่าเรือหางยาวได้ที่เกาะหลีเป๊ะ นั่งได้ 8-12 คน
ชมรมเรือหางยาวนำเที่ยวเกาะหลีเป๊ะ โทร. 081 959 6542
ติดต่อ โทร. 074 728 028,074 712 409

--------------------------------------
เกาะหินซ้อน (รวมอยู่ในหมู่เกาะอาดังราวี)

หมู่เกาะอาดัง-ราวีอยู่ห่างจากเกาะตะรุเตาไปทางทิศตะวันตกประมาณ 40 กม.เป็นที่ตั้งของหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่ง ชาติตะรุเตา บนเกาะมีหาดทรายขาวระเอียด เหมาะสำหรับการดำน้ำตื้นรอบเกาะเป็นเทือกเขาสูงครอบคลุม เนื้อที่ เกือบทั้งหมดของเกาะ บริเวณโดยรอบริมเกาะเป็นหน้าผาสูงชันมีที่ราบเฉพาะบริเวณ เหนือชายหาดต่างๆเพียง เล็กน้อย ในอดีตเคยเป็นที่ส้องสุมโจรสลัด มีหาดทรายขาวละเอียดสวยงาม และมีแนวปะการังอยู่ รอบๆ เกาะ จึงเหมาะสำหรับการดำน้ำตื้น มีที่พักและร้านอาหารของอุทยานฯ สำหรับที่เกาะอาดัง มีแนวปะการังแข็ง ด้านทิศตะวันออก และบริเวณหน้าหน่วยพิทักษ์ฯ ที่ตต.5 (แหลมสน) สามารถดำน้ำตื้นชมได้

จุดท่องเที่ยวที่สำคัญบนเกาะอาดัง- เกาะราวี

1.น้ำตกโจรสลัด เป็นน้ำตกขนาดเล็ก มีแอ่งน้ำไว้เก็บน้ำใช้ตลอดปี

2.ผาชะโด

บนเกาะอาดังยังมีจุดชมวิว "ผาชะโด" ซึ่งในอดีตเคยเป็นจุดสังเกตการณ์ของโจรสลัดเพื่อเข้าโจมตีเรือ สินค้า ปัจจุบันเป็นจุดชมทิวทัศน์ที่สวยงาม ใช้เวลาเดินขึ้น 40 นาทีบนผาชะโดเป็นลานโล่งมองลงไป จะเห็นทิวสนและ แหลมทรายสีขาวของเกาะอาดัง เกาะหลีเป๊ะ และยังเป็น จุดชมพระอาทิตย์ขึ้นและและตกอีกด้วยอดีตเคยเป็น จุดสังเกตการณ์ของโจรสลัด เพื่อเข้าโจมตีเรือ เป็นจุดชม ทิวทัศน์สวยงามที่ใช้เวลาเดินขึ้น 20 นาที บนลาน โล่งมองลง ไปจะเห็นทิวสนและแหลมทรายสีขาวของเกาะอาดัง เห็นเกาะหลีเป๊ะ

การค้างแรมบนเกาะอาดัง-ราวีนักท่องเที่ยวสามารถติดต่อส่วนอุทยานแห่งชาติทางทะเล กรมอุทยานแห่งชาิติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช โทร. 025 620 760, www.dnp.go.th หรือ อุทยานแห่งชาติตะรุเตา โทร.074 793 485 หรือ หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติตะรุเตาที่ ต.ต.5 (แหลมสน-เกาะอาดัง) โทร. 074 712 409,074 728 028

การเดินทางไปเกาะอาดัง-ราวีที่ท่าเรือปากบาราอาดัง-หลีเป๊ะ เรือจะออกจากท่าเรือปากบาราและแวะที่อุทยานแห่งชาติตะรุเตาก่อน หลังจากนั้นจะเดินทาง ต่อไปยังเกาะหลีเป๊ะ และเกาะอาดัง ใช้เวลาเดินทางประมาณ 2ชั่วโมง (ตารางเรือดูได้จากการเดินทาง ไปหมู่เกาะตะรุเตา)เมื่อถึงบริเวณ ใกล้เกาะหลีเป๊ะและเกาะอาดัง จะมีเรือหางยาวเล็กมารอรับนักท่องเที่ยวที่เรือเพื่อต่อไปยังเกาะหลีเป๊ะและ หมู่เกาะอาดัง ราวี ค่าโดยสาร 40 บาท สำหรับผู้สนใจท่องเที่ยวไปตามเกาะต่างๆในหมู่เกาะอาดังราวีนั้น สามารถ เช่าเรือหางยาวได้ที่ี่เกาะหลีเป๊ะ อัตราค่าเช่าวันละ 1,000-2,000 บาทต่อวัน (8-12 คน) ชมรมเรือหางยาว นำเที่ยวเกาะหลีเป๊ะ โทร.081 959 6542

--------------------------------------
เกาะไข่

เกาะไข่ จ.สตูลอยู่ระหว่างเกาะอาดังกับเกาะราวี เกาะไข่ไม่เพียงแต่เป็นทางผ่านเพื่อมุ่งหน้าสู่หาดสวรรค์ทั้ง 2 เกาะเท่านั้น แต่มี เอกลักษณ์ทางธรรมชาติที่สวยงามมากนั่นคือ ซุ้มประตูหินขนาดใหญ่ขนาดสูงเท่า หัวขนาดหลายคนเดิน เข้าไป ลอดได้ ซุ่มประตูนี้กลายเป็นสัญลักษณ์ของจังหวัดสตูล ยิ่งไปกว่านั้น เกาะไข่ยังมีชายหาดที่ขาวนวล สะอาด เหมือนสีไข่ น้ำทะเลใสสวย ความสำคัญทางธรรมชาติของเกาะนี้ยังเป็นที่เต่าทะเลชอบขึ้นมาวางไข่เสมอและ ในทะเลย่านนี้ยังมีปลาชุกชุม ทางอุทยานฯไม่อนุญาติให้พักแรมบนเกาะเกาะไข่มีความเชื่อว่า หนุ่มสาวคู่ใดที่ได้ ลอด ซุ้มประตูหินนี้จะได้แต่งงานกันนอกจากนี้ในช่วงเทศกาล วันวาเลน์ไทน์จ.สตูลได้จัดให้มีการจดทะเบียน สมรสให้กับคู่บ่าวสาว ณ บริเวณซุ้มเกาะไข่ด้วย

การเดินทางไปเกาะไข่นักท่องเที่ยวที่ใช้บริการเรือโดยสารจากท่าเรือปากนารา-เกาะตะรุเตา-เกาะหลีเป๊ะ เรือโดยสารจะวิ่งผ่านให้ชม ความงามของเกาะไข่ ส่วนนักท่องเที่ยวที่มากับทัวร์จะบริการพาขึ้นเกาะเพื่อชมความงามอย่างใกล้ชิด

--------------------------------------
เกาะหินงาม

เกาะหินงาม เกาะขนาดเล็กทางทิศใต้ของเกาะอาดัง ทั้งเกาะเต็มไปด้วยหินสีดำกลมเกลี้ยง มันวาว ยามโดน คลื่นซัดทำให้ ก้อนหินเป็นมันวาวยิ่งขึ้น กลางเกาะเป็นป่าไม้สีเขียวเข้าสมบูรณ์ ในขณะที่เกาะอื่นๆเด่นเรื่องหาดทรายขาวสะอาด แต่เกาะหินงาม ไร้ทรายนี้กลับโดดเด่นกว่าเกาะใดๆในสตูล เล่ากันว่าหินทุกก้อนมีคำสาปของเจ้าพ่อตะรุเตาหากใครนำติดตัวไปจะเกิดหายนะ แต่หากไปชมแล้วเรียงก้นอหินได้ 12 ก้อน แล้วอธิษฐานขอพรก็จะไ้ด้สมปารถนาทุกสิ่งทุกอย่าง

การเดินทางมาเกาะหินงาม
เกาะหินงามเป็นโปรแกรมท่องเที่ยวไฮไลต์อีกแห่งหนึ่งของการมาท่องเที่ยวหมู่เกาะตะรุเตา โดยนักท่องเที่ยว สามารถ แทรกไว้ในโปรแกรมร่วมกับการท่องเที่ยวและดำน้ำตามเกาะต่างๆ เช่น เกาะจาบัง เกาะหินซ้อน เกาะดง เกาะอาดัง-ราวี โดยสามารถเหมาเรือหางยาวบนเกาะหลีเป๊ะมาเที่ยวได้

 

 
 

--------------------------------------
หมู่เกาะสาหร่าย
ห่างจากท่าเรือเจ๊ะบิลัง อ.เมือง ประมาณ 12 กม.

เบอร์โทร+66 7521 5867, +66 7521 1058

หมู่เกาะสาหร่าย อยู่ห่างจากท่าเรือเจ๊ะบิลัง อ.เมือง สตูล เพียง 12 กม. จะมีเรือโดยสารไปที่เกาะสาหร่าย เกาะใหญ่ตลอดวัน ใช้เวลาเดินทางเพียง 15 นาที

บนเกาะมีหมู่บ้านบากันใหญ่ ซึ่งเป็นชุมชนใหญ่ ส่วนใหญ่เป็นไทยมุสลิมทำอาชีพประมง เป็นเกาะที่อุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ นอกจากเกาะสาหร่ายใหญ่แล้ว ยังมีอีก 2 เกาะใกล้กัน ซึ่งชาวบ้านเรียกว่า เกาะยะระโตดและเกาะยะระโตดนุ้ย มีชายหาดอยู่โดยรอบเกาะ บนเกาะมีหมู่บ้านชาวประมง ทำอาชีพสวนมะพร้าวและสวนยางพารา

สิ่งมหัศจรรย์ตั้งอยู่ใกล้กันคือ จากเกาะสาหร่ายใหญ่ เพียง 5 นาที จะเห็นเกาะแบนๆ กลมๆ ความกว้างประมาณแค่ 1 กิโลเมตร เป็นเกาะที่เต็มไปด้วยซากเปลือกหอยกาบแบนๆ กองทับถมกันมานานหลายร้อยล้านปี เปลือกหอยหลายหมื่นล้านชิ้นถูกคลื่นซัดพัดมากองสะสมกันเป็นเกาะใหญ่ให้เราขึ้นไปเดินบนเกาะได้ ชาวบ้านเลยเรียกกันว่า สุสานเปลือกหอยกาบ บนเกาะสาหร่ายนี้จะไม่เห็นแม้แต่เม็ดทรายสักเม็ด แต่ที่สำคัญมีกฎของการอนุรักษ์ธรรมชาติไว้ว่า ห้ามนักท่องเที่ยวทุกท่านเก็บซากเปลือกหอยกลับไป

การเดินทางมาเที่ยวที่เกาะสาหร่าย ไม่เพียงแต่มาชมความหัศจรรย์ของ สุสานเปลือกหอย กลางทะเลอันดามันใต้นี้ แต่บนเกาะใหญ่ยังมีกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ธรรมชาตืมากมาย ที่คุณจะต้องทึ่งกับความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติ ที่นี่เป็นแหล่งหญ้าทะเลที่มากที่สุดแห่งหนึ่ง หญ้าทะเลเป็นอาหารของพะยูน ซึ่งเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ชาวประมงจะเห็นพะยูนแหวกว่ายออกมาหาอาหารกันบ่อยๆ นกทะเล ปลาโลมาก็มีให้เห็นบ่อย ที่ชุมชนบากันใหญ่ได้รวมตัวกันจัดตั้งธนาคารปูม้าไข่เพื่ออนุรักษ์พันธ์สัตว์ไว้ด้วย ชุมชนบ้านบากันใหญ่ เปิดให้บริการเที่ยวแบบเช้าเย็นกลับ หรือจะพักที่บังกะโลก็ได้ สัมผัสวิถีชีวิตของชาวบ้าน ซึ่งใช้ชีวิตอยู่กับธรรมชาติแท้จริง ออกเรือจับหาปูปลาหอย เรียนรู้ค้นหาวิธีถนอมอาหารแบบพื้นบ้านด้วยการทำปลาเค็ม หอยตากแห้ง ถ้าอยากทานอาหารทะเลสดสด รับรองไม่ผิดหวังแน่ บรรยากาศบนเกาะร่มรื่นด้วยดงมะพร้าวมากมาย ทำให้ชาวบ้านนำกะลามะพร้าวมาทำเป็นผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกขายเหมาะให้นักท่องเที่ยวซื้อกลับเป็นของฝาก

----------------------------------------------------------------------------
เกาะเขาใหญ่
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา อำเภอเมือง จังหวัดสตูล
เบอร์โทร+66 7478 3074

เกาะเขาใหญ่อยู่ห่างจากท่าเรือปากบาราประมาณ 3 กิโลเมตร ตั้งอยู่ในเขต อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา บนเกาะมีอ่าว ชื่อ อ่าวก้ามปู ภายในอ่าวมีน้ำตกไหลลงมากลายเป็นลำธารเล็กๆ อ่าวก้ามปูเป็นอ่าวที่สงบปราศจากคลื่นลมตลอดปีเวลาน้ำลดระดับต่ำสุด นักท่องเที่ยวจะสามารถเห็นแนวปะการังและสิ่งมีชีวิตใต้ท้องทะเลปรากฎตลอดแนวชายฝั่ง จุดเด่นของเกาะเขาใหญ่ คือ ปฏิมากรรมธรรมชาติที่คล้ายกับปราสาทหิน มีสะพานธรรมชาติยื่นโค้งไปในทะเล เมื่อน้ำลดสามารถพายเรือลอดเข้าไปได้ นอกจากนี้ยังมีสถานที่เพาะเลี้ยงพันธุ์ปลาของประมงจังหวัดสตูล ตั้งอยู่ใกล้เกาะเขาใหญ่ซึ่งนักท่องเที่ยวนิยมแวะไปชมมากเช่นกัน

การเดินทาง

เดินทางไปยังที่ทำการอุทยานหมู่เกาะเภตรา ซึ่งอยู่ก่อนถึงท่าเรือปากบาราประมาณ 3 กิโลเมตร ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 416 บริเวณหลักกิโลเมตรที่ 6-7 ให้แยกซ้ายเข้าไปอีก 1.4 กิโลเมตร อยู่ห่างจากอำเภอละงู 7 กิโลเมตร และห่างจากตัวจังหวัด 56 กิโลเมตร

สำหรับการเดินทางไปยังเกาะเขาใหญ่ซึ่งอยู่ในเขตอุทยานฯ นั้น สามารถติดต่อเช่าเรือได้ที่ท่าเรือปากบารา นอกจากนี้ยังมีเรือโดยสารเส้นทางปากบารา-เกาะบุโหลนทุกวัน เที่ยวไปออกจากปากบารา 14.00 น. เที่ยวกลับออกจากเกาะบุโหลนเวลา 09.00 น. ติดต่อสอบถามรายละเอียดเวลาเรือและที่พักบนเกาะได้ที่สมาคมเรือนำเที่ยว ท่าเรือปากบารา โทร. (074) 781532

เกาะลิดี
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา อำเภอเมือง จังหวัดสตูล
เบอร์โทร+66 7478 3074

เกาะลิดีตั้งอยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา ประมาณ 5 กม. บนเกาะมีหน้าผาและถ้ำเป็นที่อาศัยของนกนางแอ่น มีหาดทรายขาวและมีเวิ้งอ่าวยื่นเข้าไปในเกาะ เหมาะสำหรับเล่นน้ำทะเล และกางเต็นท์พักแรม

เกาะลิดีประกอบด้วยเกาะสำคัญ 2 เกาะ คือ เกาะลิดีใหญ่กับเกาะลิดีน้อย ขนาดไล่เลี่ยกัน เรียกว่าเป็นเกาะแฝดก็ได้ และมีเกาะเล็ก ๆ เสมือนบริวารตั้งอยู่ใกล้เคียงอีก 3 – 4 เกาะ โดยสภาพภูมิศาสตร์แล้ว จัดอยู่ในหมู่เกาะเขาใหญ่ เกาะลิดีตั้งอยู่ในหมู่ที่ 4 ตำบลปากน้ำ อยู่ไม่ไกลจากอ่าวนุ่น ห่างจากฝั่งหมู่บ้านหัวหินประมาณ 1 กิโลเมตร เรือแล่นใช้เวลาไม่นานนัก ลิดีเป็นภาษามลายูแปลว่า “ ไม้เรียว” เป็นเกาะที่มีนกนางแอ่นชุกชุม ทุกวันนี้อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา ทางการได้ปลูกสร้างอาคารหน่วยพิทักษ์อุทยาน และที่พักผ่อนสำหรับนักท่องเที่ยวไว้บนเกาะลิดีน้อย

เสน่ห์ของเกาะลิดีอยู่ที่การเป็นเกาะคู่แฝด มีธรรมชาติที่หลากหลาย ได้แก่ หาดทราย ป่าไม้บนภูเขา ป่าชายเลน โขดหินที่มีรูปร่างประหลาดตามริมหาด เมื่อน้ำลดจะกลายเป็นทางเดินเท้า ลัดเลาะไปตามชายหาดและป่าชายเลน ไปยังเขาหินเล็ก ๆ ตั้งอยู่ตอนเหนือ มีก้อนหิน ก้อนใหญ่น้อยกลมมนอยู่เรียงราย ต้องคอยจังหวะน้ำลงจึงจะเดินทางไปได้ พอน้ำเริ่มขึ้นต้องรีบเดินทางกลับ การเดินทางไปเที่ยวที่เกาะลิดีใช้วิธีการไปกลับก็ได้ ทางอุทยานก่อสร้างบ้านพักสำหรับนักท่องเที่ยวและมีสถานที่สำหรับกางเต็นท์พักแรมได้ด้วย ต้องติดต่อกับทางอุทยานอีกทีหนึ่ง

----------------------------------------------------------------------------

อุทยานแห่งชาติทะเลบัน
บ้านวังประจัน ตำบลวังประจัน อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล

เบอร์โทร+66 7472 2737, +668 3533 1710

อุทยานแห่งชาติทะเลบัน พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาสลับซับซ้อนเนื่องจากปัจจัยทางธรรมชาติของน้ำใต้ดิน ทำให้เกิดการกัดเซาะเป็นร่องรอยหรือรูโหว่ขนาดใหญ่ กลายเป็นถ้ำต่าง ๆ หลายแห่ง เช่น ถ้ำโตนดิน ถ้ำลอดปูยู นอกจากนี้การเกิดของบึงทะเลบันก็เช่นเดียวกัน ซึ่งเกิดจากการยุบตัวของโพรงถ้ำหินปูนใต้ดินระหว่างหุบเขายอดเขาสูงที่สุดของพื้นที่นี้ คือ เขาจีน

ลักษณะภูมิอากาศโดยทั่วไปมีฤดูกาล 2 ฤดู คือ ฤดูร้อนอยู่ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ - มิถุนายน อากาศจะร้อนมากในเดือนเมษายนของทุกปี ส่วนฤดูฝนอย่างระหว่างเดือนสิงหาคม-พฤศจิกายน

สภาพป่าไม้โดยทั่วไปเป็นป่าดิบชื้น ประมาณ 90% ของพื้นที่ นอกจากนั้นเป็นป่าเบญจพรรณ ป่าชายเลน สัตว์ป่ามีมากกว่า 400 ชนิด สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมกว่า 60 ชนิด นก 304 ชนิด สัตว์เลี้อยคลาน 40 ชนิด สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก 20 ชนิด และสัตว์น้ำอีกหลายร้อยชนิด

สิ่งที่น่าสนใจภายในอุทยานแห่งชาติทะเลบัน

1.บึงทะเลบัน เป็นบึงน้ำขนาดประมาณ 125 ไร่ มีปลาและสัตว์อาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก เป็นที่อยู่ของ เขียดว๊าก ที่มีเสียงเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว คอยเชื้อเชิญให้ทุกคนที่มาเยือนบึงแห่งนี้ต้องหยุดฟัง อีกทั้งบึงทะเลบัน ยังเป็นแหล่งที่อยู่เฉพาะถิ่นของต้นบากง พืชน้ำที่หายากที่ขึ้นปะปนอยู่กับสิ่งมีมีชีวิตอีกหลายชนิด รอบบึงมีสะพานไม้และศาลาให้นั่งชมทัศนียภาพและได้ซึมซับบรรยากาศที่เป็นเอกลักษณ์ของบึงทะเลบันได้อย่างจุใจ นอกจากนี้ยังมีเส้นทางศึกษาธรรมชาติและสวนสมุนไพรที่อยู่ใกล้ที่ทำการอุทยานฯ

2.ทุ่งหญ้าวังประ ก่อนถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติทะเลบัน ประมาณ ๘ กิโลเมตร แยกไปทางขวาตามถนนลูกรังอีกประมาณ ๑๐ กิโลเมตร สภาพทั่วไปเป็นทุ่งหญ้าขนาดใหญ่ ในหุบเขาด้านทิศตะวันตกมีป่าเบญจะพรรณทีหายากทางภาคใต้ อยู่ประปราย มีสัตว์ป่ามากหมาย เช่น เสือดาว เม่น กระจง หมู่ป่า ไก่ป่า ฯลฯ นอกจากนั้นยังมีนกนานาชนิด เหมาะสำหรับดูนก และพื้นที่ราบกลางหุบเขา เหมาะในการพักค้างแรม หรือการเข้าค่ายต่าง ๆ

3.น้ำตกยาโรย อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติทะเลบันประมาณ ๖ กิโลเมตร ซึ่งจะอยู่ด้านขวาของถนน แล้วมีทางแยกเข้าไปอีกประมาณ ๗๐๐ เมตร น้ำตกสูงถึง ๙ ชั้น ชั้นบนสุดจะมีความสวยงามมากที่สุด ซึ่งเป็นน้ำตกที่กำเนิดจากป่าดิบชื้นของยอดเขาจีน

4.ถ้ำโตนดิน อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติทะเลบันประมาณ ๒ กิโลเมตร มีความลึกประมาณ ๗๐๐ เมตร ภายในถ้ำมีหินงอกหินย้อย และลำธารไหลผ่าน มีปลาน้ำจืด ชนิดต่าง ๆ และยังมีเครื่องมือขุดแร่ดีบุกในสมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒ หลงเหลืออยู่ และยังมีค้างคาวชนิดต่าง ๆ รอให้ผู้คนเข้าไปเยือน

5.ถ้ำลอดปูยู เดินทางจากตัวเมือง จังหวัดสตูล ใช้ทางหลวงหมายเลข 4183 (สตูล-ตำมะลัง) ประมาณ 9 กิโลเมตร ถึงท่าเรือตำมะลัง นักท่องเที่ยวสามารถติดต่อเช่าเรือได้ที่ ท่าเรือตำมะลัง ใช้เวลาประมาณ 45 นาที่ ในการเดินทางไปยังถำลอดปูยู ระหว่างการเดินทางสามารถชมป่าชายเลนที่สมบูรณ์ และเขาหินปูนที่สวยงาม สามารถลอดถ้ำได้ ถ้ำมีลักษณะเขาขวางคลอง

การเดินทางจากกรุงเทพฯ - จังหวัดสตูลประมาณ 970 กิโลเมตร และจากตัวเมืองสตูลใช้ทางหมายเลข 406 ประมาณ 19 กิโลเมตร แล้วแยกขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 4184 อีกประมาณ 20 กิโลเมตร ก็จถึงที่ทำการอุทยานฯ

ค่าเข้าชม คนไทยผู้ใหญ่ 40 บาท เด็ก 20 บาท /ชาวต่างชาติผู้ใหญ่ 200 บาท เด็ก 100 บาท อัตราค่าบริการ สำหรับนักท่องเที่ยวชาวไทยลด 50 เปอร์เซ็นต์ วันจันทร์-วันศุกร์ ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์ ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม-31 ธันวาคม 2558 ผู้ใหญ่ 20 บาท เด็ก 10 บาท

โดยรถยนต์

ไปอุทยานฯ ใช้ทางหลวงหมายเลข 406 ระยะทาง 80 กิโลเมตร ถึงสามแยกควนโดนซ้ายมือจะมีป้ายบอกทางเข้าอุทยานเลี้ยวซ้ายทางหลวงหมายเลข 4184 ไปอีกประมาณ 20 กิโลเมตร

โดยรถประจำทาง

มีรถโดยสารประจำทางไปสตูล ลงสามแยกควนสะตอ ต่อรถสองแถวเล็ก สายสตูล-วังประจัน รถออกชั่วโมงละ 1 คัน ค่าโดยสารคนละ 20 บาท


 
 

แหลมตันหยงโปและหาดทรายยาว

แหลมตันหยงโปและหาดทรายยาวอยู่ทางปากอ่าวสตูล ลักษณะเป็นแหลมที่ยื่นล้ำไปในทะเลอันดามัน มีหาดทรายขาวสะอาดยาวสวยงามและหมู่บ้านชาวประมงอาศัยอยู่ชายหาดเต็มไปบ้านเรือนชาวบ้าน จะพบเห็นสภาพชีวิตความเป็นอยู่โดยทั่วไปของชาวประมงและการตากของทะเลริมหาด ทั่วบริเวณเต็มไปด้วยต้นมะพร้าว

ความสวยงามของหาดทรายยาว สวยแตกต่างจากหาดทรายที่อื่น มีหินประดับชายหาดตลอดและมีต้นไม้ใหญ่ขึ้นขนานไปกับชายหาดยาว อยู่ใต้ร่มหูกวางแล้วร่มดีจริงๆที่สะดุดตามาก คือเปลือกหอยที่ยังสมบูรณ์ ลอยมาติดหาดทราย มีเปลือกหอยที่สวยงามและสมบูรณ์มากที่สุดเปลือกหอยอยู่บนหาดทราย ถ่ายรูปเป็นที่ระลึกไว้ ถ้าเป็นเรือ

การเดินทาง ไปตามทางหลวงหมายเลข 4051 (เส้นทางไปท่าเรือเจ๊ะบิลัง) ประมาณ 8 กิโลเมตร จะมีทางแยกซ้ายไปยังบ้านตันหยงโปอีกประมาณ 10 กิโลเมตร หรือนั่งเรือจากด่านศุลกากรเกาะนกหรือท่าเรือหลังตลาดสดสตูล ประมาณ 1 ชั่วโมง

 
     
ดำน้ำแบบสนอร์เกิล
เกาะหลีเป๊ะ, จ.สตูล  
     
     
ดำน้ำแบบสกูบา
เกาะหลีเป๊ะ, จ.สตูล  
     
     
Water Sports
เกาะหลีเป๊ะ, จ.สตูล  
     
     
ปีนเขา ชมวิว
เกาะหลีเป๊ะ, จ.สตูล  
     
     
เส้นทางศึกษาธรรมชาติ
เกาะหลีเป๊ะ, จ.สตูล  
     
     
วิถีชีวิตชาวเล
เกาะหลีเป๊ะ, จ.สตูล  
     
     
 
ตกปลา-ตกหมึก
เกาะหลีเป๊ะ, จ.สตูล
กิจกรรมอื่นๆ

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสตูล คฤหาสน์กูเด็น
ถนนสตูลธานี ตรงข้ามกับสำนักงานที่ดินจังหวัดสตูล อำเภอเมือง จังหวัดสตูล

เบอร์โทร+66 7472 3140

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สตูล (คฤหาสน์กูเด็น) ตั้งอยู่ถนนสตูลธานีซอย 5 ตรงข้ามกับสำนักงานที่ดินจังหวัดสตูล สร้างเมื่อ พ.ศ.2441 แล้วเสร็จในปี พ.ศ.2459 โดย พระยาภูมินารถภักดี หรือ ตวนกูบาฮารุดดินบินตำมะหงง (ชื่อเดิม กูเด็น บินกูแม๊ะ) เจ้าเมืองสตูลในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว คฤหาสน์นี้สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวคราวเสด็จปักษ์ใต้ แต่ไม่ได้ประทับแรม เคยใช้เป็นบ้านพักและศาลาว่าการเมืองสตูล จนในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ราวปีพ.ศ. 2484 อาคารหลังนี้ใช้เป็นกองบัญชาการทหารญี่ปุ่น เคยใช้เป็นศาลากลางจังหวัดสตูล และเป็นสถานที่สำคัญทางราชการ ต่อมาปี พ.ศ. 2540-2543 กรมศิลปากรได้ปรับปรุงคฤหาสถ์กูเด็น เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน ๒ ชั้น เป็นตึกแบบตะวันตก ประตูหน้าต่างรูปโค้งตามแบบสถาปัตยกรรมยุโรป หลังคาทรงปั้นหยาแบบไทยใช้กระเบื้องดินเผารูปกาบกล้วย บานหน้าต่างเป็นแผ่นไม้ชิ้นเล็ก ๆ เป็นเกล็ดแนวนอน ช่องลมด้านบนตกแต่งรูปดาวตามลักษณะสถาปัตยกรรมแบบอิสลาม ภายในจัดแสดงประวัติศาสตร์เมืองสตูล วิถีชีวิตของชาวสตูลในด้านต่างๆ เช่น ชีวิตชาวเล เกาะหลีเป๊ะ การปั้นหม้อ ห้องบ้านเจ้าเมืองสตูล ห้องวัฒนธรรมชาวไทยมุสลิม ให้ความรู้เกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมประเพณีและวิถีชีวิตของคนในท้องถิ่น

พิพิธภัณฑ์เปิดทุกวันพุธ-วันอาทิตย์ ปิดวันจันทร์ วันอังคารและวันหยุดนักขัตฤกษ์ เวลา 09.00–16.00 น. ค่าเข้าชม ชาวต่างประเทศ 30 บาท ชาวไทย 10 บาท โทร. 0 7472 3140

--------------------------------------
พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านละงู

ตรงข้ามวัดอาทรรังสฤษฎิ์ ถนนละงู-ฉลุง อำเภอละงู จังหวัดสตูล

เบอร์โทร 0 7478 1338, 0 7478 1382

พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านละงูก่อตั้งโดยคุณชัยวัฒน์ ไชยกุล ซึ่งชื่นชอบการสะสมของเก่าอยู่ก่อนแล้ว โดยเริ่มสะสมตั้งแต่ปี พ.ศ. 2528 เมื่อของสะสมมีมากขึ้นเรื่อย ๆ คุณชัยวัฒนจึง์นำของสะสมมาจัดแสดงเปิดเป็นพิพิธภัณฑ์ ณ บ้านเลขที่ 28 หมู่ 1 ต.ละงู อ.ละงู จ.สตูล ในปี พ.ศ. 2531

พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านละงูกลายเป็นที่รู้จักของคนในจังหวัดและนักท่องเที่ยวการจัดแสดงของพิพิธภัณฑ์อยู่บนชั้นสองของอาคาร ของที่จัดแสดงมีทั้งโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ เครื่องมือเครื่องใช้และภูมิปัญญาชาวบ้าน เช่น เครื่องปั้นดินเผาโบราณ เครื่องแก้ว จานชาม เตารีดโบราณ แต่จุดเด่นคือหม้อ 3 หู อายุกว่า 4,000 ปี ส่วนชั้นล่างจำหน่ายสินค้าพื้นเมืองตำบลกำแพงและขนม บริเวณพิพิธภัณฑ์ยังมีโรงงานขนาดเล็กแสดงกรรมวิธีการทำผ้าบาติก และจำหน่ายผลิตภัณฑ์ผ้าให้กับนักท่องเที่ยว ส่วนพิพิธภัณฑ์ที่บ้านก็ยังจัดแสดงอยู่เช่นเดิม

นอกจากจัดแสดงของแล้วทางพิพิธภัณฑ์ยังเป็นศูนย์กลางการเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านด้วย โดยจะมีการจัดการแสดงรองเง็ง ซีลัต ลิเกบก แสดงให้นักท่องเที่ยวชมอีกด้วย

พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านละงูเปิดให้บริการทุกวัน เวลา 10.00 -18.00 น.โทร 0 7478 1338, 0 7478 1382 อัตราค่าเข้าชมผู้ใหญ่ 20 บาท เด็ก 10 บาท นักเรียนในเครื่องแบบ 5 บาท

 
     
     
 
ที่มาของภาพ และข้อมูล
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
ท่องเที่ยวทะเลไทย
อ่าวไทยตะวันตก
เที่ยวตลอดทั้งปี คลื่นลมแรง ในช่วงฤดูฝน บริเวณ ชะอำ หัวหิน ปราณบุรี ทะเลประจวบฯ
 
ทะเลใต้ ฝั่งอันดามัน
อันดามันเหนือ ปลอดมรสุม พ.ย. - เม.ย. บริเวณ หมู่เกาะสิมิลัน เกาะตาชัย หมู่เกาะสุรินทร์ / อันดามันใต้ ปลอดมรสุม ต.ค.-พ.ค บริเวณตั้งแต่ภูเก็ตลงไปถึงตะรุเตา
 
     
อ่าวไทยตะวันออก
พฤศจิกายน - เมษายน ปลอดลมมรสุม อ่าวไทยตอนบนบริเวณ พัทยา สัตหีบ แสมสาร เกาะเสม็ด เกาะช้าง เกาะกูด


 
ทะเลใต้ ฝั่งอ่าวไทย
พฤษภาคม-ตุลาคม ปลอดมรสุม อ่าวไทยตอนกลาง และตอนล่าง บริเวณ เกาะเต่า เกาะนางยวน เกาะสมุย หมู่เกาะอ่างทอง และกองหินโลซิน
 
   
 
* สำหรับผู้ประกอบการที่พัก บังกาโล รีสอร์ท, ร้านอาหาร, ร้านค้า และสถานประกอบการอื่นๆ สามารถแจ้งเพิ่ม แก้ไขข้อมูลรายละเอียดสถานประกอบการ และโปรโมชั่นได้ฟรี
ผ่านทาง e-mail : seathailandtoday@ .com  
 
:: พันธมิตร(Partner) กับ ThaiFloatingMarket.com - Beaches
ร่วมเป็นพันธมิตร(Partner) กับเราเพื่อสิทธิประโยชน์ทางธุรกิจของท่าน
แบบเพื่อนบ้าน (ไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น)
  ผู้ประกอบการสามารถแจ้งข้อมูลรายละเอียดของที่พัก บังกะโล รีสอร์ท ร้านอาหาร ร้านค้า ผลิตภัณฑ์ หรือ บริการต่างๆ ของผู้ประกอบการให้กับ ThaiFloatingMarket.com - Beaches เพื่อรับหน้าเว็บเพจประชาสัมพันธ์ฟรี 1 หน้า พร้อมทั้งรับสิทธิ์แจ้งแก้ไขรายละเอียด และสิทธิพิเศษอื่นๆ อ่านต่อ >>
แบบเพื่อนใจดี (นำสินค้าหรือบริการของท่าน มาแลกบริการของเรา)
  รับสิทธิประโยชน์พื้นฐานเหมือนเพื่อนบ้าน และรับมากกว่า เช่น โฆษณาฟรีในตำแหน่งแบนเนอร์ว่าง, ประชาสัมพันธ์ผ่านข่าวหน้าแรก ThaiFloatingMarket.com - Beaches , fanpage, Google+ และ twitter ส่วนลด และบริการโฆษณาฟรี /บริการออกแบบเว็บไซต์ และสิทธิพิเศษอื่นๆ อ่านต่อ >>

อ่านรายละเอียดคลิกที่นี่
สำหรับผู้ประกอบการ  
ติดต่อโฆษณา และประชาสัมพันธ์ ดูรายละเอียดตำแหน่ง Banner อัตราค่าโฆษณา และโปรโมชั่น อ่านรายละเอียด คลิกที่นี่  
   
   
สะสมแต้ม จิกทะเลพลัส
ลงโฆษณากับเราวันนี้ รับแต้มสะสมเพื่อแลกรางวัลโฆษณาฟรีกับ ThaiFloatingMarket.com - Beaches
 
     
 
:: เมนูทะเลไทย

ข้อมูลเมืองชายทะเลไทย
โปรโมชั่นทะเลไทย
การเดินทาง
ข่าว บทความ ทะเลไทย
เที่ยวทะเลไทย
   อ่าวไทยตะวันออก
   อ่าวไทยตะวันตก
   ทะเลใต้ ฝั่งอันดามัน
   ทะเลใต้ ฝั่งอ่าวไทย

กิจกรรมเที่ยวทะเลไทย
เส้นทางท่องเที่ยวทะเลไทย
ปฏิทินท่องเที่ยว
สัมผัสทะเลไทย
บันทึกความทรงจำ
ที่พัก บังกาโล รีสอร์ท
รีวิวที่พัก บังกาโล รีสอร์ท
ร้านอาหาร กาแฟ เครื่องดื่ม
รีวิวที่กิน ร้านอาหาร
ห้องภาพ



 
A2
A3