ชายหาดนราทัศน์ เป็นหาดทรายขาวสะอาดยาวประมาณ 5 กิโลเมตร ไปสิ้นสุดที่ปลายแหลมด้านปากแม่น้ำบางนราซึ่งใช้เป็นสถานที่จัดการ แข่งขันเรือกอและที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี แนวสนทำให้บรรยากาศริม ทะเลร่มรื่นมากขึ้น ชาวบ้านนิยมมาพักผ่อนหย่อนใจกันที่นี่ ใกล้ ๆ กัน มีหมู่บ้านชาวประมงตั้งกระจัดกระจายตามริมแม่น้ำบางนรา และบริเวณ เวิ้งอ่าวมีเรือกอและของชาวประมงจอดอยู่มากมาย การเดินทาง อยู่เลยจากตัวเมืองนราธิวาสไปตามถนนสายพิชิตบำรุง ประมาณ 1 กิโลเมตร นักท่องเที่ยวสามารถใช้บริการรถจักรยานยนต์ รถสามล้อถีบ หรือรถสองแถวเล็กจากตัวเมืองนราธิวาสไปยังหาดนราทัศน์ได้สะดวก
อุทยานแห่งชาติอ่าวมะนาว-เขาตันหยง ตั้งอยู่หมู่ที่ 1 ตำบลกะลุวอ เหนือ ตามทางหลวงหมายเลข 4084 (นราธิวาส-ตากใบ) ประมาณ 3 กิโลเมตร และมีทางแยกไปสู่หาดอีก 3 กิโลเมตร เป็นชายหาดที่ยาวต่อ เนื่องจากชายฝั่งทะเลด้านตะวันออกของจังหวัดปัตตานี เป็นโค้งอ่าวเชื่อม ต่อกัน ยาวประมาณ 4 กิโลเมตร มีโขดหินคั่นสลับโค้งหาดเป็นระยะ ด้าน หนึ่งติดพระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์ บริเวณริมหาดมีสวนรุกขชาติ และ ทิวสนร่มรื่นเหมาะแก่การพักผ่อน มีเส้นทางศึกษาธรรมชาติป่าชายหาด (beach forest) ระยะทางประมาณ 1 กิโลเมตร พันธุ์ไม้ที่พบจะเป็น ไม้ที่ชอบความแห้งแล้ง เช่น จักทะเล มะนาวผี เตยทะเล (ผลมีหน้าตา คล้ายสับปะรด) เป็นต้น และยังมีบ้านพักของเอกชนในบริเวณใกล้เคียงให้ บริการนักท่องเที่ยวด้วย
หมู่บ้านยะกัง เป็นชุมชนเก่าแก่ตั้งแต่ครั้งนราธิวาสยังเป็นหมู่บ้านบาง นรา ปัจจุบันเป็นแหล่งผลิตผ้าปาเต๊ะ หรือผ้าบาติกที่สำคัญแห่งหนึ่ง ของจังหวัด อยู่ห่างจากศาลากลางจังหวัดไปตามทางหลวงสาย 4055 (อำเภอเมือง-อำเภอระแงะ) ระยะทางประมาณ 4 กิโลเมตร เลี้ยวเข้า ถนนยะกัง 1 ซอย 6 ประมาณ 700 เมตร
หมู่บ้านทอน ตั้งอยู่ที่ตำบลโคกเตียน ห่างจากตัวเมืองตามเส้นทาง นราธิวาส-บ้านทอน (ทางหลวง 4136) ประมาณ 16 กิโลเมตร เป็น หมู่บ้านชาวประมงไทยมุสลิม เป็นแหล่งผลิตเรือกอและทั้งของจริงและ จำลอง เรือกอและจำลองมีราคาตั้งแต่หลักร้อยไปถึงหลักหมื่น แต่คุณค่า ของเรือไม่ได้อยู่ที่ราคา หากแต่อยู่ที่ผู้ทำ เพราะคนที่ทำนั้นบางคนเป็น เด็กมีตั้งแต่อายุ 13 ปีขึ้นไป จะใช้เวลาว่างมานั่งหัดทำเรือกอและ ศิลปะ พื้นบ้านของพวกเขาเอง นอกจากเรือแล้วท่านอาจจะได้ความอิ่มใจกลับไป ด้วยที่ได้เห็นความสนใจของพวกเขาที่มีต่องานศิลปะเช่นนี้ นอกจากนั้น ยังมีผลิตภัณฑ์จากกระจูดและใบปาหนัน เช่นซองใส่แว่นตา กระเป๋า ไปจนถึงเสื่อที่มีลวดลายและสีสันสวยงาม ราคาไม่แพง และที่นี่ ยังเป็นแหล่งผลิตน้ำบูดู และข้าวเกรียบปลาที่ขึ้นชื่อของจังหวัดนราธิวาส อีกด้วย ตลอดแนวหาดจะเห็นแผงตากปลาเรียงรายอยู่ มีตุ่มซีเมนต์ใส่บูดู จำนวนมาก นักท่องเที่ยวสามารถแวะมาชมวิธีการผลิตและซื้อของฝากได้ ทุกวัน ยกเว้นในบ่ายวันศุกร์ชาวบ้านมักจะไปทำละหมาดและพักผ่อน ซึ่ง ไม่สะดวกนักหากจะแวะมาเวลานี้
ด่านสุไหงโกลก ตัวเมืองสุไหงโกลก ดูจะคึกคักกว่าตัวเมืองนราธิวาส เพราะเป็นด่านการค้าชายแดนที่ใหญ่ที่สุดในจังหวัด และยังเดินทาง ข้ามไปมาได้สะดวกทั้งชาวไทยและชาวมาเลเซีย มีสะพานเชื่อมระหว่าง ประเทศ เปิดตั้งแต่ 05.00-21.00 น. ชาวไทยมักข้ามไปยังฝั่งรันตูปันยัง เพื่อซื้อเครื่องใช้ต่างๆ อาหารและของกินของเล่น มีร้านค้าปลอดภาษี ส่วนชาวมาเลเซียจะข้ามมาซื้ออาหาร และผลไม้ ด่านสุไหงโกลก อยู่ห่างจากสถานีรถไฟสุไหงโกลก ประมาณ 1 กิโลเมตร การเดินทางจากตัวเมืองนราธิวาสสามารถเดินทางไปยังอำเภอสุไหงโกลก ได้ 2 เส้นทาง คือ จากตัวเมืองใช้ทางหลวงหมายเลข 4055 (นราธิวาส- ระแงะ) แล้วแยกซ้ายที่บ้านมะนังตายอ ไปตามเส้นทางหมายเลข 4056 ผ่านอำเภอสุไหงปาดี เข้าสู่อำเภอสุไหงโกลก หรืออาจใช้ทางหลวงหมายเลข 4084 จากตัวเมืองนราธิวาสไปยังอำเภอตากใบ แล้วเลี้ยวขวาเข้าสู่เส้น ทางหมายเลข 4057 (ตากใบ-สุไหงโกลก) เป็นระยะทาง 66 กิโลเมตร จากด่านสุไหงโกลก สามารถขับรถข้ามสะพานเข้าไปเที่ยวเมืองโกตาบาห์รู ของมาเลเซียได้ แต่รถที่จะเข้าไปต้องทำประกันรถยนต์ (รายละเอียดดูที่ ด่านตาบา) การขอใบผ่านแดนสอบถาม โทร. 0 7361 1231
ข้อมูลเมืองชายทะเลไทย โปรโมชั่นทะเลไทย การเดินทาง ข่าว บทความ ทะเลไทย เที่ยวทะเลไทย อ่าวไทยตะวันออก อ่าวไทยตะวันตก ทะเลใต้ ฝั่งอันดามัน ทะเลใต้ ฝั่งอ่าวไทย กิจกรรมเที่ยวทะเลไทย เส้นทางท่องเที่ยวทะเลไทย ปฏิทินท่องเที่ยว สัมผัสทะเลไทย บันทึกความทรงจำ ที่พัก บังกาโล รีสอร์ท รีวิวที่พัก บังกาโล รีสอร์ท ร้านอาหาร กาแฟ เครื่องดื่ม รีวิวที่กิน ร้านอาหาร ห้องภาพ