เกี่ยวกับเรา | บริการ | ลงโฆษณา | พันธมิตรกับเรา | สะสมแต้ม | ออกแบบเว็บไซต์
 
 
 
ปลายทาง  |  รีวิวเที่ยวทะเล  |  รีวิวที่พัก  |  รีวิวร้านอาหาร  |  สัมผัสทะเลไทย
บริการ  :   โปรโมชั่น  |  ตั๋วเครื่องบิน  |  โรงแรม ที่พัก  |  แพคเกจทัวร์ |  ท่าเรือ-เรือเช่า  |  ข้อมูลการเดินทาง
AA
 
:: ปลายทาง
อ่าวไทยตะวันออก
อ่าวไทยตะวันตก
ทะเลใต้ ฝั่งอันดามัน
ทะเลใต้ ฝั่งอ่าวไทย
เตรียมตัวเที่ยวทะเล
 
เกี่ยวกับเรา
สำหรับผู้ประกอบการ
   โฆษณากับเรา
   พันธมิตรกับเรา
   สะสมแต้ม จิกทะเลพลัส

:: เกาะ เมืองชายทะเล > ทะเลใต้ ฝั่งอ่าวไทย
เกาะสมุย
เกาะพะงัน
เกาะเต่า-เกาะนางยวน
หมู่เกาะอ่างทอง
หมู่เกาะชุมพร
หาดทรายรี-หาดทุ่งวัวแล่น
หาดขนอม-หมู่เกาะทะเลใต้
อ่าวมะนาว-เขาตันหยง
 
B08,
B09

สารบัญที่พัก บังกาโล รีสอร์ท
รีวิวที่พัก บังกาโล รีสอร์ท
การเดินทาง
โปรโมชั่น
บันทึกความทรงจำ


 
สงขลา > ข้อมูลทั่วไป  
ภาพโดย thai.tourismthailand.org, www.facebook.com/Pacharaanong Hirunsalee, www.facebook.com/WhiteCloudTravel
 
 
สงขลา

นกน้ำเพลินตา สมิหลาเพลินใจ เมืองใหญ่สองทะเล เสน่ห์สะพานป๋า ศูนย์การค้าแดนใต้

จังหวัดสงขลาเป็นจังหวัดชายแดน ภาคใต้ของประเทศไทย เป็นเมืองท่าและเมืองชายทะเลที่สำคัญแห่งหนึ่งของภูมิภาคมาตั้งแต่สมัยโบราณ และเป็นเมืองที่มีอารยธรรมเจริญรุ่งเรืองมาเป็นเวลานานหลายศตวรรษ จึงมีแหล่งโบราณสถานและโบราณวัตถุมากมาย อีกทั้งยังมีมรดกทางวัฒนธรรมที่สืบทอดกันมารุ่นสู่รุ่นจากบรรพบุรุษดั้งเดิม ทั้งขนบธรรมเนียม ประเพณี ภาษา และการละเล่นพื้นเมืองต่างๆ ที่น่าสนใจและน่าศึกษามากมาย

นอกจากนี้สงขลายังมีสถานที่ท่องเที่ยว ทางธรรมชาติ ทั้งชายทะเล ทะเลสาบ ป่าไม้ น้ำตก และมีทรัพยากรธรรมชาติอันอุดมสมบูรณ์ทั้งบนบกและในน้ำ มีอำเภอหาดใหญ่เป็นศูนย์กลางการค้าและการคมนาคม เป็นที่ตั้งของสนามบินนานาชาติแห่งสำคัญของภูมิภาคและของประเทศ จึงทำให้มีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ โดยเฉพาะชาวมาเลเซีย มาเยี่ยมเยือนและท่องเที่ยวเป็นจำนวนมากในแต่ละปี

จังหวัดสงขลามีเนื้อที่ประมาณ 7,393 ตารางกิโลเมตร หรือ 4,620,625 ไร่ เป็นจังหวัดที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 26 ของประเทศ ลักษณะพื้นที่ทางทิศเหนือของจังหวัดส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่ม ทางทิศตะวันออกเป็นที่ราบริมทะเล ส่วนทางทิศใต้และทิศตะวันตกเป็นเขตภูเขาและที่ราบสูง โดยมีเทือกเขาสันกาลาคีรีเป็นพรมแดนธรรมชาติกั้นระหว่างสงขลาและรัฐเคดาห์ สหพันธรัฐมาเลเซีย

เมืองสงขลานี้เดิมมีชื่อที่คนไทยใช้เรียกกันว่า "เมืองสทิง” สันนิษฐานว่าชื่อเมือง “สงขลา” น่าจะเพี้ยนมาจากคำว่า “สิงหลา” ที่แปลว่าเมืองสิงห์ อันเป็นชื่อที่พ่อค้าชาวเปอร์เซียอินเดียใช้เรียกกันในอดีต เนื่องจากได้แล่นเรือผ่านเข้ามาในทะเลสาบสงขลา เห็นเกาะหนู-เกาะแมวจากระยะไกลๆ มีลักษณะคล้ายสิงห์ 2 ตัวหมอบเฝ้าปากทางเข้าเมือง จึงตั้งชื่อเมืองตามนั้น หรืออีกข้อสันนิษฐานหนึ่งกล่าวว่า คำว่า “สงขลา” นั้นมาจากคำว่า “สิงขร” ที่แปลว่า “ภูเขา” เนื่องจากเมืองสงขลาในยุคดั้งเดิมตั้งอยู่เชิงเขา เมื่อพ่อค้าชาวมลายูเดินทางเข้ามาค้าขาย ได้ออกเสียงเพี้ยนเป็น “เซ็งคอรา” และต่อมาเมื่อชาวตะวันตกเข้ามา ก็ออกเสียงชื่อเมืองเพี้ยนเป็น “ซิงกอรา” (Singora) จากนั้นจึงค่อยๆ เพี้ยนเป็นคำว่า “สงขลา” ดังปัจจุบัน

เมือง สงขลาเป็นชุมชนขนาดใหญ่มาตั้งแต่ในอดีต ตัวเมืองเดิมตั้งอยู่ริมชายฝั่งทะเลสาบสงขลา ในบริเวณที่เป็นอำเภอสทิงพระในปัจจุบัน เป็นศูนย์กลางการปกครองของดินแดนรอบๆ ทะเลสาบสงขลาในช่วงระหว่างพุทธศตวรรษที่ 12–19 มีรูปแบบวัฒนธรรมแบบศรีวิชัย มีการขุดคลองเชื่อมต่อระหว่างตัวเมืองกับทะเลสาบสงขลาและอ่าวไทย และทำการติดต่อค้าขายกับพ่อค้าชาวจีนในสมัยราชวงศ์ถัง (ประมาณ พ.ศ. 1201–1450)

ต่อมาอาณาจักรศรีวิชัยได้เริ่มเสื่อมอำนาจลงเพราะการ รุกรานจากชนชาติต่างๆ ทั้งพวกโจฬะ จากอาณาจักรตันเชอร์ทางภาคใต้ของอินเดีย พวกโจรสลัดมาเลย์ และชาวมุสลิมมลายู ที่อพยพมาจากหมู่เกาะต่างๆ ในประเทศอินโดนีเซีย โดยมีประเทศอังกฤษสนับสนุนอยู่เบื้องหลัง ชุมชนเมืองสทิงพระเก่าก็ได้อพยพโยกย้ายไปตั้งรกรากอยู่ในหลายพื้นที่ของดิน แดนแถบนี้ เกิดเป็นเมืองต่างๆ เปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ ตลอดระยะเวลาหลายร้อยปี

ใน สมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 แห่งกรุงศรีอยุธยา เมืองสงขลาเป็นหนึ่งในเมืองประเทศราชจำนวน 16 หัวเมือง และในสมัยกรุงธนบุรี เมืองสงขลาเริ่มมีบทบาทสำคัญขึ้นอีกครั้ง เนื่องจากการค้ากับประเทศจีนเจริญขึ้น มีคนจีนอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในเมืองสงขลาเป็นจำนวนมาก ต่อมาสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงแต่งตั้งหัวหน้าคนจีนขึ้นเป็นเจ้าเมือง เมืองสงขลาจึงถูกปกครองโดยเจ้าเมืองในตระกูล ณ สงขลา ติดต่อกันมาเป็นเวลานานถึง 126 ปี เจ้าเมืองชาวจีนเหล่านี้ได้วางพื้นฐานความเจริญด้านต่างๆ และพัฒนาเมืองสงขลาจากที่เป็นเมืองบริวารเล็กๆ ของนครศรีธรรมราช เจริญเติบโตจนกระทั่งกลายเป็นเมืองศูนย์การค้าขนาดใหญ่ และเป็นที่ตั้งที่ว่าการมณฑลนครศรีธรรมราชระหว่างปี พ.ศ. 2439–2476 ทำการค้าขายกับกรุงเทพมหานคร สิงคโปร์ และเมืองอื่นๆ อย่างเจริญรุ่งเรือง และมีการก่อสร้างศิลปวัตถุและศาสนสถานไว้มากมายบริเวณสองฝั่งปากทะเลสาบ สงขลา

ปัจจุบันจังหวัดสงขลาแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 16 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองสงขลา อำเภอระโนด อำเภอกระแสสินธุ์ อำเภอสทิงพระ อำเภอสิงหนคร อำเภอควนเนียง อำเภอรัตภูมิ อำเภอบางกล่ำ อำเภอหาดใหญ่ อำเภอนาหม่อม อำเภอจะนะ อำเภอเทพา อำเภอนาทวี อำเภอสะบ้าย้อย อำเภอสะเดา และอำเภอคลองหอยโข่ง




อาณาเขต 

ทิศเหนือ ติดต่อกับจังหวัดนครศรีธรรมราชและจังหวัดพัทลุง
ทิศตะวันออก ติดต่อกับอ่าวไทย
ทิศใต้ ติดต่อกับจังหวัดยะลา จังหวัดปัตตานี รัฐเคดาห์ และรัฐเปอร์ลิสของประเทศมาเลเซีย
ทิศตะวันตก ติดต่อกับจังหวัดพัทลุง และจังหวัดสตูล


หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ 
ตำรวจท่องเที่ยว

Link ที่น่าสนใจ
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานหาดใหญ่
พื้นที่รับผิดชอบ :สงขลา,พัทลุง

ที่อยู่ :1/1 ถ.นิพัทธ์อุทิศ 3 ซ.2 อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110
โทร 0 7423 1055, 0 7423 8518, 0 7424 3747
แฟกส์ 0 7424 5986
อีเมล์ tatsgkhl@tat.or.th
เว็บไซต์ http://www.tourismthailand.org/hatyai , http://www.songkhlatourism.org

บริการและสิ่งอำนวยความสะดวก: ให้การสนับสนุนนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างประเทศ โดยการให้โบรชัวร์การท่องเที่ยวและสร้างสรรค์สื่อการท่องเที่ยว


กรมอุตุนิยมวิทยา

 
ที่มาของภาพ และข้อมูล
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
สำนักงานจังหวัดสงขลา
ท่องเที่ยวทะเลไทย
อ่าวไทยตะวันตก
เที่ยวตลอดทั้งปี คลื่นลมแรง ในช่วงฤดูฝน บริเวณ ชะอำ หัวหิน ปราณบุรี ทะเลประจวบฯ
 
ทะเลใต้ ฝั่งอันดามัน
อันดามันเหนือ ปลอดมรสุม พ.ย. - เม.ย. บริเวณ หมู่เกาะสิมิลัน เกาะตาชัย หมู่เกาะสุรินทร์ / อันดามันใต้ ปลอดมรสุม ต.ค.-พ.ค บริเวณตั้งแต่ภูเก็ตลงไปถึงตะรุเตา
 
     
อ่าวไทยตะวันออก
พฤศจิกายน - เมษายน ปลอดลมมรสุม อ่าวไทยตอนบนบริเวณ พัทยา สัตหีบ แสมสาร เกาะเสม็ด เกาะช้าง เกาะกูด


 
ทะเลใต้ ฝั่งอ่าวไทย
พฤษภาคม-ตุลาคม ปลอดมรสุม อ่าวไทยตอนกลาง และตอนล่าง บริเวณ เกาะเต่า เกาะนางยวน เกาะสมุย หมู่เกาะอ่างทอง และกองหินโลซิน
 
   
 
* สำหรับผู้ประกอบการที่พัก บังกาโล รีสอร์ท, ร้านอาหาร, ร้านค้า และสถานประกอบการอื่นๆ สามารถแจ้งเพิ่ม แก้ไขข้อมูลรายละเอียดสถานประกอบการ และโปรโมชั่นได้ฟรี
ผ่านทาง e-mail : seathailandtoday@ .com  
 
:: พันธมิตร(Partner) กับ ThaiFloatingMarket.com - Beaches
ร่วมเป็นพันธมิตร(Partner) กับเราเพื่อสิทธิประโยชน์ทางธุรกิจของท่าน
แบบเพื่อนบ้าน (ไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น)
  ผู้ประกอบการสามารถแจ้งข้อมูลรายละเอียดของที่พัก บังกะโล รีสอร์ท ร้านอาหาร ร้านค้า ผลิตภัณฑ์ หรือ บริการต่างๆ ของผู้ประกอบการให้กับ ThaiFloatingMarket.com - Beaches เพื่อรับหน้าเว็บเพจประชาสัมพันธ์ฟรี 1 หน้า พร้อมทั้งรับสิทธิ์แจ้งแก้ไขรายละเอียด และสิทธิพิเศษอื่นๆ อ่านต่อ >>
แบบเพื่อนใจดี (นำสินค้าหรือบริการของท่าน มาแลกบริการของเรา)
  รับสิทธิประโยชน์พื้นฐานเหมือนเพื่อนบ้าน และรับมากกว่า เช่น โฆษณาฟรีในตำแหน่งแบนเนอร์ว่าง, ประชาสัมพันธ์ผ่านข่าวหน้าแรก ThaiFloatingMarket.com - Beaches , fanpage, Google+ และ twitter ส่วนลด และบริการโฆษณาฟรี /บริการออกแบบเว็บไซต์ และสิทธิพิเศษอื่นๆ อ่านต่อ >>

อ่านรายละเอียดคลิกที่นี่
สำหรับผู้ประกอบการ  
ติดต่อโฆษณา และประชาสัมพันธ์ ดูรายละเอียดตำแหน่ง Banner อัตราค่าโฆษณา และโปรโมชั่น อ่านรายละเอียด คลิกที่นี่  
   
   
สะสมแต้ม จิกทะเลพลัส
ลงโฆษณากับเราวันนี้ รับแต้มสะสมเพื่อแลกรางวัลโฆษณาฟรีกับ ThaiFloatingMarket.com - Beaches
 
     
 
:: เมนูทะเลไทย

ข้อมูลเมืองชายทะเลไทย
โปรโมชั่นทะเลไทย
การเดินทาง
ข่าว บทความ ทะเลไทย
เที่ยวทะเลไทย
   อ่าวไทยตะวันออก
   อ่าวไทยตะวันตก
   ทะเลใต้ ฝั่งอันดามัน
   ทะเลใต้ ฝั่งอ่าวไทย

กิจกรรมเที่ยวทะเลไทย
เส้นทางท่องเที่ยวทะเลไทย
ปฏิทินท่องเที่ยว
สัมผัสทะเลไทย
บันทึกความทรงจำ
ที่พัก บังกาโล รีสอร์ท
รีวิวที่พัก บังกาโล รีสอร์ท
ร้านอาหาร กาแฟ เครื่องดื่ม
รีวิวที่กิน ร้านอาหาร
ห้องภาพ



 
A2
A3